เรียนรู้พื้นฐานการขับรถเบื่องต้น
การควบคุมความเร็วของรถ
หลังจากที่มีการฝึกการเดินหน้าและถอยหลังแล้วผู้เรียนต้องสามารถควบคุมความเร็วของรถขณะรถเคลื่อนที่ไปข้างหน้า ลักษณะมีการเลี้ยวด้านซ้ายและด้านขวาหลาย ๆ ครั้งได้อย่างคล่องตัว
ในบทนี้ผู้เรียนจะสามารถเคลื่อนรถไปข้างหน้า ลักษณะหลบหลีกสิ่งกีดขวางได้โดยการใช้การควบคุมความเร็วควบคู่กับการบังคับพวงมาลัย และการเคลื่อนที่ของรถต้องปราศจากการกระตุกหรือเครื่องยนต์ดับและต้องไม่ชนสิ่งกีดขวางทั้งทางด้านซ้ายและขวา
โดยมีการฝึกปฏิบัติซ้ำหลาย ๆ ครั้ง จนเกิดความชำนาญ ดังนี้
- เลือกช่องทางในการเคลื่อนรถ เช่น ถ้าจะมีการเลี้ยวรถไปทางด้านซ้ายให้เลือกพื้นที่ทางด้านขวา
ก่อนทำการเลี้ยว เพื่อเพิ่มพื้นที่ ในขณะทำการเลี้ยวและเพิ่มความสามารถในการมอง - การใช้เกียร์ให้เหมาะสมกับสถานการณ์ที่ทำการฝึก
- การจับพวงมาลัยควรจับอยู่ที่ตำแหน่ง 2 และ 10 ตามเข็มนาฬิกา เพื่อความคล่องตัวในการบังคับ
ขณะเคลื่อนที่และจังหวะในการคืนพวงมาลัย - เพิ่มความเร็วในการหมุนพวงมาลัย โดยพิจารณาจากมุมที่ทำการเลี้ยวและจังหวะในการคืน
พวงมาลัย - การควบคุมความเร็วของรถโดยอาจมีการใช้คลัทช์หรือเบรกในการควบคุมการเคลื่อนที่ของรถตาม
สภาพสิ่งกีดขวาง - การใช้สายตาในการมองมุมยอดต่าง ๆ ในจังหวะการเคลื่อนที่ของตัวรถ
โดยระหว่างการฝึก ผู้ฝึกจะอธิบายแสอนขับรถละสาธิตตามหัวข้อต่าง ๆ เพื่อให้เกิดการปฏิบัติที่ถูกต้องดังนี้
- ความสำคัญของการหาตำแหน่งในขณะเคลื่อนรถ
- ความสำคัญของการใช้เกียร์ การใช้คลัทช์และเบรกในการเคลื่อนรถ
- การใช้สายตาในการมองขณะเคลื่อนรถทั้งด้านซ้ายและด้านขวา
- การหมุนพวงมาลัยและการคืนพวงมาลัยไม่สัมพันธ์หรือมีการหมุน การคืนไม่สม่ำเสมอ
การเปลี่ยนเกียร์ขั้นพื้นฐาน
ในบทนี้ผู้เรียนจะได้รับการฝึกอบรมครั้งแล้วครั้งเล่าจาก โรงเรียนสอนขับรถยนต์ จนสามารถเปลี่ยนเกียร์ได้ดังนี้
- เปลี่ยนเกียร์ทั้งขึ้นและลงและต้องไม่ทำให้เครื่องยนต์ใช้กำลังรอบของเครื่องเกินกว่ากำลังที่เหมาะสม
หรือลากเกียร์ - ใช้เกียร์อย่างถูกต้องมีการเปลี่ยนเกียร์ในจังหวะที่เหมาะสม
- ควบคุมรถได้อย่างดี
- เมื่อเปลี่ยนเกียร์เรียบร้อยแล้วให้นำมือกลับมาจับที่พวงมาลัยทันทีทุกครั้ง
การฝึกฝนใช้เกียร์มีพื้นฐานดังนี้
- ตำแหน่งของเกียร์ควรจะถูกเขียนติดไว้ตามลักษณะของแต่ละเกียร์โดยติดไว้ที่แห่งใดแห่งหนึ่งโดย
ปกติจะติดไว้ที่หัวเกียร์หรือที่อื่น - หัวเกียร์จะอยู่ติดอยู่หรือสวมใส่ติดกับคันเกียร์ซึ่งจะพอเหมาะกับอุ้งมือของผู้ขับ โดยทั่วไปการ
เปลี่ยนเกียร์จะใช้มือเป็นตัวกำหนดเกียร์หนึ่งและสองจะไปทางซ้ายเกียร์สาม สี่ และห้า จะอยู่ทางขวา
ตามลำดับ - การเปลี่ยนเกียร์
ถอนเท้าขวาจากแป้นคันเร่ง ใช้เท้าซ้ายเหยียบที่แป้นคัลทช์ ดันเกียร์ไปที่เกียร์ที่สูงกว่าปล่อยเท้าซ้าย
ออกจากคลัทช์ช้า ๆ ให้เท้าขวาเหยียบคันเร่งเบา ๆ
การเปลี่ยนเกียร์ลง
ถอนเท้าขวาจากแป้นคันเร่ง ให้เท้าซ้ายเหยียบที่แป้นคลัทช์ ดันเกียร์ไปที่เกียร์ไปที่เกียร์ต่ำกว่า
ในตำแหน่งที่ต้องการปล่อยเท้าซ้ายออกจากคลัทช์ช้า ๆ ใช้เท้าขวาเหยียบคันเร่งเบา ๆ ตามความเร็ว
ที่ต้องการ
โดยครูผู้ฝึกสอน โรงเรียนสอนขับรถ จะมาสาธิตและอธิบายให้ผู้เรียนได้และขั้นตอนต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
- ระบบการทำงานของเกียร์ต่าง ๆ
- จุดประสงค์และประโยชน์ของเกียร์
- ตำแหน่งของเกียร์และวิธีการเปลี่ยนเกียร์
- ระบบการทำงานของคลัทช์ และผลของคลัทช์ต่อการขับขี่ เมื่อมีการเหยียบคลัทช์ ขณะรถหยุดหรือ
เปลี่ยนเกียร์ - เกียร์สามารถถูกนำไปใช้เพื่อลดความเร็วของรถได้ แต่ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องเปลี่ยนเกียร์ให้ต่ำกว่า
เกียร์ 3 ระดับเมื่อรถใกล้จะหยุดสนิท - ใช้รถอย่างใส่ใจ
ในระหว่างการฝึกใช้เกียร์หากมีข้อผิดพลาดใดเกิดขึ้น ผู้สอนจะเป็นผู้ชี้จุดผิดพลาดให้กับผู้เรียนเพื่อให้สามารถเข้าใจและใช้เกียร์ได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย
การขับรถผ่านทางแยกพื้นฐานที่ต้องเรียนรู้ เพื่อลดลดอุบัติเหตุ
เมื่อจบบทนี้เมื่อถึงทางแยกไม่ว่าจะโดยการควบคุมหรือไม่ควบคุมหรือไม่ควบคุม ผู้เข้ารับการฝึกต้องสามารถเลี้ยวขวาหรือซ้าย หรือขับข้ามทางแยกตรงไปข้างหน้า โดยคำนึงถึงผู้ใช้ถนนอื่น ๆ ได้อย่างปลอดภัย
ในระหว่างการทดลองฝึกซ้ำ ๆ ผู้เข้ารับการฝึกต้องแสดงความสามารถในการขับรถผ่านทางแยก ดังนี้
- เลี้ยวขวาหรือซ้ายหรือขับตรงไปข้างหน้า ณ ทางแยกใด ๆ
- ตอบสนองต่อสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงได้อย่างถูกต้อง โดยไม่ก่อให้เกิดความไม่สะดวกแก่ผู้ใช้ถนนอื่น ๆ
ขั้นตอนเรียนขับรถสำหรับการเลี้ยวขวาหรือซ้าย หรือการขับตรงไปข้างหน้า ณ บริเวณทางแยก มีดังต่อไปนี้
- อ่านหรือตีความป้ายถนน สัญลักษณ์ และสถานการณ์การจราจร ได้อย่างถูกต้อง
- ใช้ระบบการควบคุมรถ ตามที่ได้ให้รายละเอียดไว้ในบทเรียนที่ผ่านมา
โรงเรียนสอนขับรถ จะสอนให้ผู้เรียนต้องฝึกฝนว่า เมื่อถึงทางแยกต้องขับรถในลักษณะดังต่อไปนี้
- การจราจรในทิศทางเข้าหาหรือกำลังเลี้ยว ณ ทางแยก
- การลดความเร็วรถตั้งแต่เนิ่น ๆ เพื่อให้แผนการขับรถมีความยืดหยุ่น
- การขับรถเข้าถนนที่มีการขับสองทิศทาง (Dual Carriageways)
- การใช้เบรกจอดตามความสามารถของผู้รับการฝึก อนุญาตให้ควบคุมรถชั่วคราวโดยใช้คลัทช์ได้ ถ้าสถานการณ์อำนวย
- ลักษณะการขับรถหรือพฤติกรรมของผู้เข้ารับการฝึกเมื่อถึงทางแยก ต้องมีความมั่นใจในการควบคุมรถ ประเมินสถานการณ์การจราจรและทัศนคติต่อความปลอดภัยและการคำนึงถึงผู้ใช้ถนนอื่น ๆ
- ไม่ก้าวร้าวหรือลังเลจนเกินไป เมื่อถึงทางแยก เป็นเครื่องชี้ให้เห็นถึงความมั่นใจที่สูงเกินไปหรือการตื่นเต้นอย่างมาก
- ความจำเป็นที่จะเสียสละตำแหน่งความปลอดภัยที่ถูกต้องบนท้องถนน เช่น ผู้ขับรถอื่น ๆ ขับตัดมุมถนนออกมาก
- ความเร็วของรถ ณ ทางแยก
- ความระมัดระวังเมื่อได้รับสัญญาณที่ไม่ถูกต้องหรือไม่เหมาะสมจากผู้ใช้ถนนอื่น ๆ
- ผู้รับการฝึกต้องมองไปทางขวา ซ้าย และขวาอีกครั้ง ก่อนที่จะขับเข้าทางแยก อธิบายได้ถึงอันตรายของการคร่อมช่องทางที่ทางแยก
เมื่อทำการเลี้ยว ณ ทางแยก นอกเหนือจากการใช้ระบบควบคุมรถ ควรใช้กระบวนการต่อไปนี้
- การเลี้ยวซ้าย
เมื่อเลือกทิศทางการเคลื่อนที่ ที่เหมาะสมได้แล้ว ตำแหน่งรถยนต์ควรอยู่ใกล้ด้านซ้ายมือของถนน
ให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ควรคงตำแหน่งนี้ไว้จนกระทั่งทำการเลี้ยวเสร็จสมบูรณ์แล้ว จากนั้นคืน
กลับสู่ทิศทางการเคลื่อนที่ปกติ
- การเลี้ยวขวา
เมื่อถึงทิศทางการเคลื่อนที่ ที่เหมาะสมได้แล้ว ถ้าว่าปลอดภัย ตำแหน่งรถยนต์ควนอยู่ใกล้ด้านซ้ายมือ
ของเส้นกลางถนนให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ควรคงตำแหน่งนี้ไว้จนกระทั่งทำการเลี้ยวเสร็จสมบูรณ์
แล้ว จากนั้นคืนกลับสู่ทิศทางการเคลื่อนที่ปกติ ถ้ามีเหตุใด ๆ ที่ทำให้การเลี้ยวขวาจากเส้นกลางถนน
ไม่ปลอดภัยควรที่จะทำการเลี้ยวจากด้านซ้ายของถนน รอจนกว่าทางจะโล่งและปลอดภัยที่จะทำการ
เลี้ยว
ผู้รับการฝึกจะได้รับการทำความเข้าใจในการขับรถผ่านทางแยกได้อย่างสมบูรณ์จากโรงเรียนสอนขับรถยนต์
- แรงที่กระทำขณะรถเลี้ยว
- อันตรายที่เกิดกับคนเดินถนน
- การใช้ช่องทางสำหรับลดความเร็ว
- การเร่งความเร็วบนถนนเปียกหรือแห้ง
- เน้นเรื่องการเบรกและการบังคับพวงมาลัย
- เข้าใจวัตถุประสงค์ของป้ายสัญลักษณ์และเครื่องหมายบนถนนและทราบถึงวิธีการวางแผนการขับรถยนต์
- ตั้งข้อสังเกตผลของความกว้างของถนนและตำแหน่งของรถอื่น ๆ เมื่อพิจารณาทิศทางการเคลื่อนที่
- ไม่ใช้สัญลักษณ์มือมากเกินไปหรือไม่จำเป็น ทำให้เกิดอันตรายในการควบคุมรถ
- ให้ความสำคัญของการประเมินของความเร็วที่ต้องใช้ในการเลี้ยวที่แม่นยำ และการเปลี่ยนแปลงความเร็วที่ต้องใช้สำหรับทางลาดขึ้นหรือลาดลง
- ความสำคัญของ การเคลื่อนที่ออกจากทิศทางตรงไปข้างหน้า
- คุณค่าของการใช้แตรสัญญาณ พิจารณาถึงอันตรายที่อาจเกิดขึ้นได้
- ในขณะที่รอการจราจรให้เบาบางลง ล้อรถต้องมีทิศทางไปข้างหน้า ระวังอันตรายที่เกิดจากการที่ล้ออยู่ในลักษณะเบี้ยว ณ ทางแยก
- ควรใช้ความเร็วต่ำเมื่อทำการเลี้ยวซ้าย เพราะการเลี้ยวมีความแคบมากกว่าสำหรับการเลี้ยวซ้าย ควรระวังอันตรายที่อาจเกิดขึ้นระหว่างรถยนต์และรถจักรยานยนต์หรือรถจักรยาน องค์ประกอบถนนที่อยู่ข้างทาง เป็นต้น
- ระวังไม่ให้ชนกับขอบถนนเมื่อทำการเลี้ยวซ้าย
- การเหวี่ยงรถออก ก่อนหรือหลังการเลี้ยวซ้ายเรียนขับรถที่ไหนดี
- ผู้เรียนขับรถควรฝึกฝนข้อปฏิบัติเหล่านี้ ตั้งแต่เริ่มแรกที่ความเร็วต่ำมาก ๆ